ประสบการณ์ Hi-End สร้างได้ ใครว่าต้องตะแคงหูฟัง

ประสบการณ์ Hi-End สร้างได้ ใครว่าต้องตะแคงหูฟัง

คราวที่แล้วเราได้เล่าให้ฟัง ถึงเรื่องการเซทอัพลำโพงง่ายๆด้วยตัวเองไปแล้ว
บทความครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักกับวิธีการปรับปรุงห้องเพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นห้องฟังเพลงกันบ้าง เพราะต่อให้คุณภาพเครื่องเสียงของคุณ จะราคาแพงหรือเข้าชุดกันมากเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณไม่คำนึงถึงองค์ประกอบในห้องฟังเพลงเลย ก็อาจทำให้เสียงจากเครื่องเสียงราคาไม่แพง แต่จัดวางหรือออกแบบห้องได้ดีกว่า โดยรวมแล้วทำให้คุณภาพเสียงชนะขาดไปได้ แต่บางครั้งการก้าวเท้าเข้าสู่โลกของชาวหูทอง หรือคำแนะนำจาก  Hi-Fi Lover ต่างๆ อาจทำให้เรากลัว ซ้ำร้ายบางที หลงเข้าไปอ่านสิ่งที่บรรดาเซียนหูทองพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ อาจจะยิ่งทำให้มือใหม่เครื่องเสียงยิ่งงงเข้าไปอีก หรืออาจจะถึงขั้นเข็ดขยาดไปเลย

เอาเข้าจริงๆแล้ว หัวใจของห้องฟังเพลงที่ดีก็คือ การออกแบบจุดซับ และสะท้อนของเสียงซึ่งส่งผลเกี่ยวเนื่องกับสภาพ acoustic ของ room นั่นเอง องค์ประกอบหลักๆ ที่ทำให้ห้องฟังเพลงมีคุณภาพเสียงแตกต่างกัน ก็จะมาจาก การจัดวางของวัสดุที่ทำให้เกิดการซับ และสะท้อนของเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศความเป็น อะคูสติกที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละห้อง ศัตรูตัวฉกาจสำหรับคุณภาพเสียงของห้องฟังเพลงทุกห้งที่มีเหมือนๆกัน คือวัสดุจำพวกผนังเรียบ และกระจกที่มีมากเกินไป เพราะพื้นผิวที่เรียบลื่นเหล่านี้ มักทำให้เกิดการสะท้อน หรือหนักเข้าก็ทำให้โครงสร้างของเสียงเกิดความไม่สมดุลย์ไปเลย แต่ถ้าหากว่าห้องของคุณมีองค์ประกอบเปล่านี้อยู่ค่อนข้างเยอะล่ะ นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องปรับแก้ไข บทความนี้จะพาคุณไปค่อยๆ ปรับสภาพห้องฟังเพลงของคุณให้เหมาะกับการฟังมากขึ้นด้วยงบประมาณที่เหมาะสมตามที่คุณสามารถพิจารณาตามสะดวก


จากที่บทที่แล้วเราเคยถึงถึงขนาดความสมมาตรของห้องไป นอกเหนือจากนั้นโครงสร้างของตัวห้องก็สำคัญ การที่ผนังมีช่องระหว่างกลาง หรือเป็นวัสดุที่ให้ตัวได้ง่ายเช่นไม้อัดย่อมอาจมีการกระพือ เคลื่อนตัวเมื่อกระทบกับเสียง โดยเฉพาะย่านเสียงต่ำทำให้ย่านเสียงไม่กระชับ
ส่งผลให้ความไพเราะลดลง อีกข้อที่ต้องระวัง คือถ้าห้องฟังเพลงของคุณมีความสูงน้อยกว่าสเกลปกติพอสมควร (อย่างน้อยครึ่งเท่าของขนาดด้านกว้าง- ยาว) คุณควรปรับปรุงเสริมความแข็งแรงของเพดานบริเวณเหนือจุดที่ตั้งลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อคลื่นเสียงของย่านแหลม

การวางวัสดุสิ่งทอจำพวกพรมหนา ระหว่างชุดลำโพงและเครื่องเสียง กับจุดที่นั่งฟังเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่ข้อคววรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงการนำโต๊ะ หรือเฟอร์นิเจอร์มาวางบนพรม โดยเพราะโต๊ะที่เป็นกระจก เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงที่สุดเพราะส่งผลให้เกิดสภาวะความฟุ้งกระจายของเสียง หรือถ้าจุด sweet spot อยู่ใต้คานควรเลี่ยง ให้เยื้องมาด้านหน้าคานเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงตกกระทบเพดาน บริเวณคาน ยังมีวิธีดัดแปลง เพิ่มความน่าฟังของชุดเครื่องเสียง โดยไม่ต้องเปลี่ยนชุดซื้อเครื่องใหม่ ใช้แค่ความใส่ใจ และงบประมาณเพื่อปรับปรุง
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เราลองมาย่อสรุปเป็นข้อๆได้แบบนี้

 

สภาพแวดล้อมโดยรวมของห้อง รวมถึงการออกแบบและประสิทธิภาพ การดูดซับ-สะท้อนของเสียง องค์ประกอบของห้องฟังเพลงนั้นส่งผลโดยตรงต่อเสียงเลย ต่อให้เครื่องเสียงหลักล้าน แต่วางในห้องที่ประกอบด้วยวัสดุแข็งเช่นปูน และกระจก ก็ย่อมทำให้คุณภาพเสียงลดลงไม่เหลือ เพราะจะมีแต่เสียงสะท้อนที่เกินพอดี และขนาดของห้องไม่ควรจะสมมาตรพอดี ควรมีด้านหนึ่งที่มีพื้นที่มากกว่า และไม่ควรหารกันลงตัว เช่น กว้าง 4 เมตร สูง เมตร ควรจะมีความยาวซัก 5 เมตร อย่าให้เป็น 4x4x2 เพราะประกอบด้วยเลขคู่ที่หารกันลงตัวซึ่งตามหลักแล้วจะก่อให้เกิดเสียงสะท้อนมได้มากกว่า อาจแก้ไขด้วยการเสริมวัสดุดุดซับ หรือสะท้อนเสียงเพื่อปรับ dimension ของห้อง

 
ลงทุนกับวัสดุปรับแต่งเสียงบ้าง  อย่าเอาทุกอย่างไปทุ่มกับชุดเครื่องเสียง มิเช่นนั้นอาจจะเหมือนกับตคุณเอาเครื่องรถ bigbike 500 cc. ไปยัดใส่ในจักรยานยนต์คันเล็กๆ นอกจากจะทำให้สมดุลย์เสียแล้ว เครื่องที่แรง ในโครงสร้างที่ไม่ส่งเสริมพอเหมาะกัน จะทำให้ศักยภาพเสียไปเปล่าๆ พวกวัสดุไม้ และฟองน้ำหรือยางซับเสียงก็เป้นปัจจัยสำคัญมากที่นอกจากจะต้องจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วควรลงทุนกับเกรดคุณภาพของอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย

เชื่อหูตัวเองแต่ก็อย่ามโนจนละเลยเครื่องมือ จริงอยู่เรื่องรสนิยมทางเสียง ความไพเราะเป็นเรื่องของปัจเจค ฉะนั้นอะไรที่หูเราได้ยินแล้วไม่ชอบหรือรู้สึกว่าผิดที่ผิดทาง นั่นก็สมควรปรับแก้ แต่การวัดค่าด้วยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆเช่น software ที่ใช้วัด frequency response, หรือไมค์วัดเสียง ก็เป็นเรื่องที่ห้ามละเลยหรือกระเบียดกระเสียน เพราะอย่างน้อยการแจ้งเตือนจากค่าต่างๆที่เป็นผลลัพท์ทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ก็ทำให้เรารู้อย่างมีข้อพิสูจน์ว่าจริงๆแล้วสภาพของห้องเป็นอย่างไร เรากำลังเดินผิดทางอยู่หรือเปล่า

 

หาข้อมูลและรู้ว่าตัวเองชอบอะไร บางครั้งการฟังแต่เหล่ากูรูเสียง ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนอกจากเกิดการชี้นำไปในทางที่อาจไม่ใช่รสนิยมของเรา การที่จัดชุดเครื่องเสียง และบรรยาการของห้องที่ดี คือกีตาร์ต้องอยู่ทางซ้าย กลองชุดต้องเยื้องมาทางขวา เครื่องนั้นต้องอยู่ตรงโน้นตรงนี้ สิ่งเหล่านี้บางทีก็เป็นมายาคติของแต่ละบุคคลเกินไป ห้องฟังเพลงที่ดี ควรจะมีระบบไฟที่ดี ไม่ถูกแทรกด้วยสัญญาณคลื่นไฟฟ้าต่างๆ และ เงียบสนิทปราศจากเสียงรบกวน ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีชัด ทุกย่านเสียง มีคุณค่าความเป็นดนตรีสูงนั่นก็เพียงพอ

 

ให้มืออาชีพช่วยจัดการ บางครั้งการยกหน้าที่ให้เป็นเรื่องของผู้ชำนาญน่าจะง่ายกว่าลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแง่ของเครื่องไม้เครื่องมือที่มีพร้อม ประสบการณ์จากทีมงาน หรือความเหมาะสมเท่าที่จะเป็นไปได้โดยการปรับแต่งจากสภาพตัวบ้านหรือห้องฟังเพลงเดิมของคุณ ได้ตรงตามใจ ควบคุมคุณภาพได้ตามงบที่คุณมี ถ้าคุณเริ่มมีความคิดที่จะเริ่มขยับขยาย หรือเริ่มมีความคิดอยากได้ห้องฟังเพลงแบบจริงจัง ทีม “เสียงดี” เรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบห้องฟังเพลง และระบบอะคูสติค ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างที่เราเคยนิยามไว้ เราไม่ได้จริงจังแค่เรื่องของการผลิตแผ่นเสียง แต่รวมถึง Passion ทางเสียงทุกอย่างไว้ด้วย

ถ้าคุณสนใจเรื่องห้องฟังเพลง แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองทักทายส่งข้อความมาคุยกับเราในช่อง inbox เรายินดีพูดคุยให้คำแนะนำเป็นอย่างยิ่ง

TIPS. รู้ไว้ใช่ว่า  ตัวอย่างวัสดุซับเสียงประเภทต่างๆที่ไม่แพง และควรติดตั้งไว้ใช้งาน

แผ่นซับเสียง: โดยมากวัสดุทำจากฟองน้ำสีดำ หรือเทา ควรเลือกที่คุณภาพดีค่อนข้างมีความหนาแน่นสูง จะเป็นรูปทรงระแนง หรือเป็นแบบทรง 4 เหลี่ยมปลายแหลมก็เลือกใช้เอาตามสะดวก ปัจจุบันพวกวัสดุซับเสียงมีความก้าวหน้าเรื่องรูปทรงไปเยอะมาก และหาซื้อได้ง่ายตามเว็บไซต์ขายอุปกรณ์บันทึกเสียง หรือแม้แต่ขายอุปกรณ์สร้างบ้านก็มี

แผ่นไม้สะท้อนเสียง: เป็นปกติถ้าหากภายในห้องเต็มไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดเสียงไปเสียหมด เสียงที่จะได้ยินก็จะแห้ง อับ เพราะย่านเสียงที่มีรายละเอียดเล็กน้อย  Overtone ต่างๆก็จะถูกดูดกลืนไปหมดด้วย เพราะฉะนั้นการเลือกจุดที่ทำให้เกิดการสะท้อนเพื่อกระจายย่านของเสียงก็สำคัญไม่แพ้กัน แผ่นไม้ลักษณะเหล่านี้ถูกออกแบบมาเป็น Pattern อย่างดีเพื่อข่วยในการกระจายของเสียง ในปัจจุบันมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งแบบก้อนสี่เหลื่ยม และบบแท่งระแนงที่มีความสูงของร่อง สูงต่ำต่างกัน

แผ่น Diffuser: เทคโนโลยีของเสียงก็มีพัฒนาการของตัวเองเรื่อยๆ ไม่ต่างไปจากวงการอื่นๆ
ในเมื่อการปรับสภาพห้องที่ดี นั้นต้องการทั้งการดูดกลืน และการกระจาย ทำไมไม่ใช้อุปรณ์ชิ้นเดียวแต่ทำหน้าที่ได้ทั้ง 2 แบบไปเลยหละ
นี่จึงเป็นที่มาของแผ่น Diffuser ที่สามารถทำหน้าที่ 2 แบบในตัวเดียวโดยที่จะมีแผ่นไม้บางๆ เจาะลวดลายด้านหน้า เผื่อช่วยกระจายย่านเสียง ซึ่งถูกแปะทับลงบนแผ่นยางที่ทำหน้าที่ดูดซับเสียงอีกทีนึง

นอกจากนี้ยังมีวัสดุปรับสภาพเสียงรูปแบบอื่นๆที่ทำงานคล้ายคลึงกันอีก เช่น แผ่นอะคูสติคบอร์ดลายรูๆ และแผ่นลูกฟูกเป็นต้น

Back to blog