จะซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียง The+Record Player ดีไหม? ถ้ายังลังเลใจเราอยากให้ได้ลองอ่านบทความนี้

จะซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียง The+Record Player ดีไหม? ถ้ายังลังเลใจเราอยากให้ได้ลองอ่านบทความนี้

เคยหมกหมุ่นหรือทุ่มเทเวลาอยู่กับสิ่งของอะไรที่เราสนใจอย่างเอาเป็นเอาตายไหมครับ? มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยที่เราจะศึกษา เปรียบเทียบข้อเสียข้อดี เปิดแท็บหน้าต่างในโน้ตบุ๊คเอาไว้ทีเป็นสิบๆ อัน (หรือถ้าสมัยก่อนก็คงจะนั่งเปิดเว็บบอร์ดแล้วตั้งกระทู้ถาม หากเก่ากว่านั้นคุณคงเดินไปหาห้างร้านแล้วถาม ‘เซียน’ ว่าเขาแนะนำอะไร) เลียบๆ เคียงๆ เหมือนจะเอาชิ้นนี้นิด แต่ก็แบ่งใจไปที่อันนั้นอีกสักหน่อย ท่ามกลางความวุ่นวายในใจที่หากมันพูดได้คงบอกกับเราว่า ‘จะเอายังไงกันแน่?’ 

ในฐานะคนฟังเพลงที่เล่นแผ่นเสียงมาหลายปี แต่ก็ยังมีแอพพลิเคชั่นมิวสิกสตรีมมิ่งอย่าง Apple Music และ Spotify เป็นเพื่อนคู่ใจ แค่มองตาผมก็เข้าใจในความลำบากของการตัดสินใจซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงออนไลน์สักเครื่อง แค่คิดจะเริ่มต้นเสิร์ชก็เจอเครื่องเล่นแผ่นเสียงโผล่มามากมาย แล้วจะจับต้นชนปลายที่ไหนดี ผมขอเกริ่นไว้ก่อนว่า The+Record Player จาก +AUDIO คือเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบครบครัน (All-in-One) ที่ตีโจทย์แตกแบบไม่ต้องลำบากใจ 

แต่เพราะอะไรเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคาเกินครึ่งแสน ที่ไม่ได้เป็นที่นิยมอะไรในบ้านเรา อินฟลูเอนเซอร์ ยูทูปเบอร์ ในบ้านเราก็ไม่เคยพูดถึง จะเปิดดูรีวิวใน YouTube สักทีนึงก็ไม่ค่อยมีคนไทยทำเอาไว้ ที่สำคัญคือตอนที่มีลูกค้าตัดสินใจซื้อไป พวกเขาไม่เคยรู้จักยี่ห้อนี้เลยด้วยซ้ำ แต่มันกลับครองใจคนซื้อพร้อมกวาดคำชมจากสื่อใหญ่ในวงการมานักต่อนัก

  



สำหรับผมเองที่ผ่านช่วงเวลาแห่งการเฟ้นหาสินค้าเพื่อประกอบร่างออกมาเป็นชุดเครื่องเสียงหลายปีก่อนยังจำขึ้นใจ และเคยฝากเอาไว้ในบทความเรื่องเครื่องเสียงแบบ All-in-one ชิ้นนี้

แอมป์ตัวนี้ดูดีแต่ไม่ทน ปรีโฟโน่ตัวนั้นชาวเน็ตบอกใช้ได้แต่ดีไซน์ไม่ได้เรื่อง หัวเข็มต้องยี่ห้อนี้เท่านั้น ไม่รวมเรื่องลำโพงที่เป็นปัญหาล้านแปดว่าอยากได้เสียงแบบแปร่งๆ แบบวินเทจหรือจะเอาให้มันหนึบหนับร่วมสมัยไว้ฟังเพลงหลายๆ แนว ผมได้ Rega RP1 กับปรีโฟโน่ตัวจิ๋วสัญชาติไทย ลำโพง passive ขนาดไม่ใหญ่แบรนด์สวิส และสุดท้ายก็มาจบที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ All-in-one อย่าง Braun SK55 ที่ดีไซน์และการใช้งานมาก่อนเรื่องเสียง ถ้าคนรักคงอวยจนลอย แต่ถ้าคนไม่ชอบคงด่าจนมันแอบน้อยใจ

สารภาพว่าตอนนี้ผมแบ่งใจมาที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงร่วมสมัยเครื่องนี้ไปแล้ว หนึ่งคือกำลังจะย้ายไปอยู่คอนโดที่พื้นที่มีจำกัดในไม่ช้า สองคือเสียดายแผ่นเสียงมากมายจากหลากศิลปินที่นอนอยู่ในตู้ ที่เวลาเอาไปเปิดอยู่บนเจ้า Braun SK55 มันให้เสียงออกมาที่เป็นเอกลักษณ์ก็จริง แต่สิ่งที่น่าหงุดหงิดใจคือความ ‘แมนนวล’ ของมัน ก็อย่างว่าล่ะครับ คุณปู่เครื่องนี้อายุราวเกือบ 60 ปี มันมีก๊อกแก๊กๆ เกเรบ้างตามกาลเวลา 

สิ่งที่จะทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ All-in-One 
แตกต่างและโดดเด่นคือ ลำโพง




และอย่างที่บอกว่าแม้ผมจะเป็นพวก ‘นักฟังเพลงครึ่งๆ กลางๆ’ แต่ก็อยากได้ยินเสียงแผ่นเสียงที่ได้มาจาก หลายๆ ที่ ว่าแต่ละ pressing มันมีการอัดการบันทึกต่างกันมากขนาดไหน ซึ่งผมจำได้ว่าตอนเอาแผ่น เสียงที่สะสมเอาไว้ไปเทสต์กับ The+Record Player มันดึงคุณภาพเสียงของการบันทึกออกมาได้น่า พอใจ แต่สำหรับผมถ้าจะติคือมันให้เสียงรบกวนน้อยมาก จนบางทีผมแอบคิดว่ามันคลีนเกินไป แต่ก็เป็น อะไรที่แตกต่างดีเหมือนกัน ข้อสุดท้ายคือมันฟังสตรีมมิ่งได้แบบหนำใจแค่กดรีโมทเปิดเพลงโปรดที่ทำ playlists เอาไว้ 



ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสได้คุยกับนักฟังเพลงและนักสะสมแผ่นเสียงระดับ ออดิโอไฟล์ เขาได้ให้คำตอบเกี่ยวกับคำถามของผมว่า คนๆ หนึ่งจะเสียเงินหลายหมื่นให้กับเครื่องเสียงที่ ไม่เคยฟังได้อย่างไร เขาว่าเอาไว้แบบนี้... 

“สิ่งที่เรามักจะได้ยินอยู่เสมอจากคนที่สนใจในการเลือกซื้อเครื่องเสียง คือคำถามเรื่องคุณภาพและบุคลิก ของเสียง ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะเครื่องเสียงนั้นเป็นอะไรที่ต้องอาศัยประสบการณ์ และความรู้ความเข้าใจ ถึงองค์ประกอบในการฟังจนกว่าจะตัดสินใจ คนส่วนใหญ่มักตัดสินใจด้วยข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเช่น การรีวิวจากนักวิจารณ์เครื่องเสียงผู้มีประสบการณ์ ไปจนถึงสอบถามเพื่อนฝูง แต่ไม่มีใครตัดสินใจแทน ใครได้ เพราะสุดท้ายเราคือคนที่ต้องใช้ต้องอยู่กับเครื่องเสียงชุดนั้นๆ เราควรจะต้องเชื่อในสิ่งที่ตัวเอง ได้ยิน ซึ่งก็คือการเชื่อหูของตัวเอง”




เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ผมได้เจอกับลูกค้า The+Record Player ท่านหนึ่ง ระหว่างที่เธอกำลัง ทดลองฟังเสียงจริงอยู่ที่โชว์รูม เธอบอกผมว่าเธอเป็นมือใหม่ในวงการเครื่องเล่นแผ่นเสียง เลยปรึกษาหา รือเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการนักเปิดแผ่นว่า ถ้าหากจะซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงสักเครื่องจะต้องมองที่อะไร เธอ บอกผมว่าเรื่องเสียงต้องมาก่อน เพราะเพื่อนดีเจของเธอเคยบอกว่า “สิ่งที่จะทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงโดย เฉพาะพวก All-in-One แตกต่างและโดดเด่นคือ ลำโพง” นี่คือเหตุผลว่าทำไมเธอจึงเลือกมาตกลงปลงใจ กับ The+Record Player ทั้งๆ ที่เธอไม่ได้เตรียมงบประมาณถึงครึ่งแสนเอาไว้ แต่พอมาได้ลองฟังกับตัว เองก็ได้คำตอบและเครื่องเล่นแผ่นเสียงเครื่องนี้กลับไปด้วย 

ส่วนเรื่องดีไซน์เธอบอกผมว่าด้วยพื้นที่ในห้องที่ไม่มาก ประกอบกับการออกแบบที่ไม่ได้ดูล้ำจนเกินไป ยิ่ง ทำให้ตัดสินซื้อง่ายขึ้น เธอแอบทิ้งท้ายเอาไว้ว่า สำหรับมือใหม่จะให้ไปหาสายระโยงระยางต่อลำโพงก็ คงจะเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร 

ตั้งใจว่ามันจะต้องเป็นเฟอร์นิเจอร์ให้บ้านได้ด้วย


หากใครที่อ่านจนมาถึงตรงนี้ ผมอยากย้ำอีกทีนะครับว่า เครื่องเล่น The+ Record Player ไม่ใช่ผลิตผลของมือใหม่เพราะ  เพราะแม้ +AUDIO จะเป็นแบรนด์ใหม่ แต่ก็สร้างขึ้นจากทีมที่มีประสบการณ์มากมาย 

ถ้าคุณรู้จักแบรนด์ JBL และ Cambridge SoundWorks คุณอาจเริ่มหายสงสัยเรื่องคุณภาพเสียง เพราะ Bob Hazelwood และ Gordon Cook วิศวกรมากประสบกาณ์คู่นี้ เขาได้ใช้เวลานานกว่า 3 ปี ปลุกปั้นและคลุกคลีจนได้เสียงที่ลงตัว และแม้จะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ All-in-One แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้างว่า ‘เสียงดีไม่มีอยู่จริง’

ถ้าใครเป็นแฟนแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ในตำนานอย่าง Walter Knoll หรือ Thonet (บริษัทที่ผลิตเก้าอี้โครงเหล็กเงาวับกับพนักพิงและที่นั่งสานด้วยหวายที่ใครเห็นก็คงร้องอ๋อ) คุณอาจจะคลายกังขาว่า ทำไมขนาดตัวเครื่องและ exterior ของ The+Record Player ถึงดูหน้าตาเป็น ‘เฟอร์นิเจอร์’ มากกว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียง เพราะมันถูกออกแบบโดย Alexander Åhnebrink นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ชาวสวีดิช ที่เคยฝากผลงานกับทั้ง Paul Smith, Walter Knoll, Thonet, JVC และ Samsung มาแล้วนับไม่ถ้วน



ลูกค้าท่านหนึ่งที่เคยซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงนี้ไป เขาดูถูกอกถูกใจ ตั้งแต่ครั้งที่เราได้ไปติดตั้งและประกอบเครื่องเล่นแผ่นเสียงให้ (อ่อ หากเป็น The+Record Player ที่ขายอยู่ที่โซนประเทศยุโรปนั้น ไม่ได้มีบริการประกอบและติดตั้งให้นะครับ เพราะฉะนั้นหากใคร ได้ซื้อไป คุณแค่เตรียมแผ่นเสียงเอาไว้แล้วบรรจงวางมันลงไปแล้วเปิดเครื่องเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสรรพ)

“แฟนเป็นคนซื้อให้ เขาสนใจเลยลองเสิร์ชดู พอมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจบวกกับราคาที่เหมาะสม เขา ก็ซื้อให้เลย ทีนี้พอเรามาได้อยู่กับมัน ได้ใช้งานมันจริงๆ ก็ถูกใจมาก หลักๆ เลยคือดีไซน์ และขนาดที่มัน พอดิบพอดี เราตั้งใจว่ามันจะต้องเป็นเฟอร์นิเจอร์ให้บ้านได้ด้วย รองลงมาคือฟังก์ชั่นที่มันหลากหลายแต่ก็ ยังใช้งานง่ายๆ จะฟังแผ่นเสียงก็ได้ เบื่อๆ หน่อยก็เปลี่ยนมาฟังสตรีมมิ่งสุดท้ายคือคุณภาพเสียงที่เรียกได้ ว่าถูกใจไม่แพ้สองเรื่องแรก แล้วพอเราประทับใจก็เลยแนะนำเพื่อนต่ออีกทีนึงด้วย” 

จริงๆ แล้วมันไม่ได้ทำได้แค่เล่นแผ่นเสียงหรือฟังสตรีมมิ่งนะครับ เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ All-In-One ตัว นี้ยังครบจบในตัวเองสมชื่อ เพียบพร้อมด้วยพอร์ทการเชื่อมต่อที่หลากหลายมีทั้ง AUX และ USB สำหรับ เล่นไฟล์เพลงจากคอมพิวเตอร์ หรือ Media / Network Player เนื่องจากเครื่องนี้มี DAC อยู่ในตัว หรือ จะ Rip เพลงโปรดจากแผ่นเสียงลงบน Mac หรือ PC รวมถึงยังมี Optical สำหรับรับสัญญาณดิจิทัลอีก ด้วย สำหรับผมมันครบครันเสียไม่มี 

แค่เห็นดีไซน์กับรู้ว่ามันทำอะไรได้หลายอย่างก็กดซื้อทันที

 

และตลอดเวลาที่ผ่านมา มีข้อมูลและคำถามมากมายเกี่ยวกับ The+Record Player เครื่องนี้ ทำให้มีการ พูดคุยกับผู้ที่สนใจ จนกลายมาเป็นลูกค้าบ้าง หรืออย่างน้อยก็ได้ให้ข้อมูลกลับไปในฐานะคนชอบฟังแผ่น เสียง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งผมเองและทีมงานรู้สึกประหลาดใจ เพราะจู่ๆ ก็มีคำสั่งซื้อเข้ามาแบบไม่มีคำถาม ใดๆ แน่นอนว่าผมรีบติดต่อลูกค้าท่านนั้นกลับไปแบบไม่รอช้า

เป็นใครก็แปลกใจใช่ไหมครับ เครื่องเสียงราคาเกินครึ่งแสน แบรนด์ก็ไม่เคยได้ยินเท่าไหร่ แต่ทำไมเธอ ถึงตัดสินใจเร็วแบบไม่ถามอะไรสักคำ ผมยกหูโทรศัพท์พูดคุยเรื่องรายละเอียดการจัดส่งสินค้า นัดแนะวัน เวลาติดตั้ง แล้วหลังจากนั้นจึงได้กลับมาพูดคุยกับเธอถึงเรื่องการตัดสินใจ 

“เห็นภาพของมันครั้งแรกแล้วรู้สึก ถูกใจกับดีไซน์ของเครื่องที่ดูเป็นเครื่องเสียงคลาสสิก พอหาข้อมูลอีกสักหน่อยก็รู้ว่ามันมีเทคโนโลยีสมัย ใหม่ ทำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น ก่อนซื้อก็ตัดสินใจจากปัจจัยเท่านี้ แต่พอได้ฟังเสียงจากเครื่องจริงๆ ก็ยิ่ง รู้สึกถูกใจ” แล้วเราก็ได้พูดคุยกันเรื่องแหล่งขายแผ่นเสียงในกรุงเทพที่ผมเองเคยฝากผลงานบทความเอา ไปเมื่อปีสองปีก่อน 

ไม่รู้สึกว่ามันต่างชั้นกับเครื่องเสียงชุดใหญ่ที่มีอยู่แล้ว

 

ใครบอกว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ All-in-One มันเหมาะสมกับแค่มือใหม่ ผมขอเถียงขาดใจครับ ลอง ดูบัญญัติ 10 ประการของดีไซน์ที่ดีโดยนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวเยอรมันชื่อก้องโลกอย่าง Dieter Rams เขามีคอนเซปท์ง่ายๆ ทว่าลึกล้ำ อย่าง “Less but better” หรือหากจะแปลเป็นภาษาไทยก็คงจะ ประมาณว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้ใช้งานง่ายที่สุดแต่มันต้องดีกว่า

ผมกำลังจะพูดถึงอีกเคสของลูกค้าที่เคยซื้อ The+Record Player ไป และได้เข้ามาลองฟังเสียงที่โชว์รูม ของเรา แน่นอนว่าเขามาพร้อมแผ่นเสียงที่หลากหลาย ผมแอบชายตามองไปเจอแผ่นเสียงเพลงไทยลูก กรุง และในใจก็คิดว่า เขาไม่ใช่มือใหม่ในวงการเครื่องเล่นแผ่นเสียงอย่างแน่นอน

พอได้พูดคุยกันผมก็ได้รู้ว่า เขาตั้งใจให้ The+Record Player เป็นเครื่องเสียงที่จะไปตั้งอยู่ที่ คอนโดมิเนียม แน่นอนว่าเขาคำนึงถึงขนาดและพื้นที่ของมัน แตกต่างกันกับเครื่องเสียงชุดใหญ่ที่เขามีอยู่แล้วที่บ้าน 

“การออกแบบหรือดีไซน์ผ่านฉลุย แต่ด้วยความที่เราเป็นคนเล่นเครื่องเสียงอยู่แล้ว โจทย์ในการหาเครื่อง เล่นแผ่นเสียงครั้งนี้คืออะไรที่ใช้ง่าย ขนาดกะทัดรัด และที่สำคัญที่สุดคือมันจะต้องไม่ทำให้เรารู้สึกว่ามัน ต่างชั้นกับเครื่องเสียงชุดใหญ่ที่เรามีอยู่แล้วจนเกินไป พอได้มาลองฟังกับตัวเองก็ตัดสินใจได้ทันที”


มาถึงตรงนี้ ผมเข้าใจว่าแค่คำอธิบายมันอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะหากยกคำพูดของนักฟังเพลงและนัก สะสมแผ่นเสียงระดับออดิโอไฟล์ที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นมา นั่นคือ “ไม่มีใครตัดสินใจแทนใครได้ เพราะ สุดท้ายเราควรจะต้องเชื่อในสิ่งที่ตัวเองได้ยิน" ด้วยเหตุนี้เอง ทีม SIANGDEE จึงได้ลงมือบันทึกเสียง จาก The+Record Player ด้วยอุปกรณ์ระดับสตูดิโอ ออกมาเป็นวิดีโอ Sound Demo เพื่อให้คุณได้รับ ชมและรับฟังเสียงเหมือนอยู่ในบรรยากาศจริง

ทักมาหาเรา เพื่อขอรับฟังตัวอย่างเสียงของเพลงฮิตตลอดกาลจาก The+Record Player 'Special Edition' ได้แล้ววันนี้




Back to blog